อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment / PPE)
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ PPE เป็นอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาสำหรับสวมใส่ ปกคลุมอวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมในขณะปฎิบัติงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยง
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล หรือ อุปกรณ์เซฟตี้ที่ต้องใช้ในการทำงานนั้นมีหลายชนิดด้วยกัน ซึ่งเราได้รวบรวมอุปกรณ์ที่สำคัญมาทั้งหมด 8 ชนิดด้วยกัน ลองไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละชนิดใช้เพื่อป้องกันร่างกายได้อย่างไร
8 อุปกรณ์เซฟตี้ (PPE) เพื่อความปลอดภัยในการทำงาน
- หมวกนิรภัย (Safety Helmet) ใช้สำหรับป้องกันศีรษะจากการกระแทก และเจาะทะลุจากของที่หล่นจากที่สูงหรือของแข็ง หมวกนิรภัยบางชนิดสามารถต้านทานกระแสไฟฟ้าหรือทนต่อการลุกไหม้ของไฟได้
- แว่นตานิรภัย (Safety Goggles) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับดวงตาและใบหน้า ยังช่วยป้องกันฝุ่น สารเคมี รวมถึงสะเก็ดไฟ ซึ่งอาจกระเด็นเข้าดวงตาได้ ควรเลือกใช้แว่นที่มีมาตราฐานสากลรับรอง เช่น ANSI, CE ฯลฯ
- ที่ครอบหู / ที่อุดหู (Hearing Protection) ใช้สำหรับป้องกันเสียงที่ดังเกินมาตราฐานที่คนเรารับได้ (เกิน 130 เดซิเบล) ซึ่งเป็นอันตรายต่อการได้ยิน โดยอุปกรณ์ป้องกันหูที่สำคัญและเหมาะสมต่อการใช้งาน ได้แก่
3.1) ปลั๊กลดเสียง (Ear Plug) วัสดุทำมาจากยาง พลาสติกอ่อน ที่มีขนาดพอดีกับรูหู สามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 15 เดซิเบล
3.2) ที่ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) มีก้านโค้งครอบศีรษะ และใช้วัสดุที่มีความนุ่มหุ้มทับ สามารถลดเสียงได้ไม่น้อยกว่า 25 เดซิเบล
- ถุงมือนิรภัย (Safety Gloves) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมือและแขน ซึ่งมีหลายประเภทเหมาะที่จะใช้ในรูปแบบงานที่ต่างกัน ได้แก่
4.1) ถุงมือกันความร้อน
4.2) ถุงมือป้องกันสารเคมี
4.3) ถุงมือกันบาด
4.4) ถุงมือป้องกันไฟฟ้า
- หน้ากากนิรภัย (Safety Respirators) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ จากพวกฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ก่อให้เกิดอันตราย หรือสารระเหยที่เป็นพิษต่อร่างกาย
- เสื้อสะท้อนแสง (Reflective Clothing) ใช้สวมใส่เพื่อความปลอดภัยสำหรับคนงานที่จำเป็นต้องทำงานกลางแจ้ง ผู้ที่สวมเสื้อจะสามารถถูกมองเห็นได้จากระยะไกลและง่ายขึ้น ทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
- รองเท้านิรภัย (Safety Shoes) ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับขาและเท้า เราสามารถแบ่งรองเท้านิรภัยได้ตามลักษณะงาน ดังนี้
7.1) รองเท้าเซฟตี้ ป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้า สวมเพื่อป้องกันกระแสไฟฟ้าแรงสูงไหลสู่ร่างกาย
7.2) รองเท้าเซฟตี้หัวเหล็ก ป้องกันของหนักตกใส่หรือการเหยียบตะปู การโดนรถโฟล์คลิฟท์ทับเท้า
7.3) รองเท้าเซฟตี้ป้องกันสารเคมี ใช้สำหรับงานป้องกันความเสี่ยงจากการสัมผัสสารเคมีอันตราย
- เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) ใช้สำหรับป้องกันงานการที่ตกจากที่สูง หรือที่ทำงานต่างระดับที่ต้องเสี่ยงกับการพลัดตกลงมา
อุบัติเหตุจากการทำงานเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึง เราควรใส่อุปกรณ์เซฟตี้ทุกครั้งที่ปฏิบัติงานในสภาวะที่เสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้น เพื่อความปลอดภัยไว้ก่อนค่ะ